Blog นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 305171 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา 2554 เสนอ อ.ภาณุพงศ์ สอนคม

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

กระติบกระจายไอเดีย


กระติบกระจายไอเดีย

เห็นไอเดียนี้แล้วรู้สึกชอบมากเพราะเขาสามารถคิดนำเอาภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ได้ ถือเป็นความคิดที่ดีเลยทีเดียว ถ้าเขาสามารถทำให้ไอเดียของเขาเป็นจริงได้ ไอเดียนี้ก็จะเป็นประโยชน์มากในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ทั้งเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยไปพร้อมๆกัน ^^

คลิกดูได้ที่  http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/424523


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

เซิ้งกระติ๊บ



เซิ้งกระติบ

เซิ้งกระติบข้าว
 เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวภูไท ซึ่งเป็นชาวไทยเผ่าหนึ่งที่มีเชื้อสายสืบต่อกันมาช้านานในดินแดนทางภาคอีสานของไทย เช่น ในเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดข้างเคียง นิยมเล่นกันในโอกาสรื่นเริงวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ การแสดงจะเริ่มด้วยชาวภูไทฝ่ายชายนำเอาเครื่องดนตรี และเครื่องประกอบจังหวะหลายอย่าง ได้แก่ แคน เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งใช้ปากเป่าเป็นทำนองเพลง แก๊บ (กรับ) กลองเถิดเทิง กลองแต๊ะ โหม่ง และ ฉาบ มาร่วมกันบรรเลงเพลงที่มีทำนองและจังหวะรุกเร้า ต่อจากนั้นเหล่าสตรีชาวภูไทในวัยต่างๆ ซึ่งมีกระติบข้าวแขวนสะพายอยู่ข้างตัว ออกมาเต้นเซิ้งเป็นการแสดงอากัปกิริยาของสตรีชาวภูไท ขณะเมื่อสะพายกระติบข้าวเพื่อนำอาหารไปส่งให้แก่สามี และญาติพี่น้องที่ออกไปทำงานอยู่นอกบ้าน

เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองแต๊ะ กลองยาว แคน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ

จังหวะ
 ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง เพิ่ง

การแต่งกาย
 แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก
คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้

อุปกรณ์การแสดง
 กระติบข้าว หรือกล่องใส่อาหารสานด้วยไม้ไผ่ 


 ดูคลิปเพิ่มเติม



วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว



ขั้นตอนการทำกระติบข้าว


-หลังจากคัดขนาดไม้แล้วตัดเป็นท่อนๆตามความต้องการ

ผ่าไม้ไผ่เตรียมที่จะจักตอก

- ผ่าออกเป็นชิ้นๆเพื่อสะดวกในการขูดผิว
- ขูดผิวของไม้ไผ่ออกแล้วจักเป็นเส้นบางๆ
- นำเส้นตอกที่จักแล้วไปตากแดดให้แห้งเพื่อเก็บไว้ใช้งานต่อไป

ไม้ไผ่ที่ผ่าและขูดผิวออกแล้ว

- นำเส้นตอกที่เตรียมไว้มาสานขึ้นกระติบข้าวตามขนาดและความต้องการ

กำลังขูดตอก สานกระติบข้าว

กำลังขึ้นรูปกระติบข้าว

- นำเส้นตอกที่เตรียมไว้มาจักสานขึ้นรูปเพื่อเป็นฝาปิดแต่จะต้องทำใหญ่กว่าตัวกระติบข้าว
- นำเส้นตอกที่เตรียมไว้มาสานเป็นแผ่นเพื่อที่จะทำเป็นก้นกระติบข้าว
- นำก้านตาลที่แก่จัด (ตัดใบออก) ตัดเป็นท่อนขนาดตามความต้องการ
- ผ่าก้านตาลที่เตรียมไว้และขูดเอาเนื้อของกานตาลออก
- นำก้านตาลที่ขูดเนื้อออกแล้วมาขดเป็นวงกลมเพื่อทำเป็นตีนกระติบข้าวต่อไป

กำลังใส่ตีนกระติบข้าว
- จากนั้นก็นำส่วนตัวกระติบ , ฝากระติบ ,ก้นกระติบ ,ตีนกระติบ มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นกระติบข้าวและสามารถนำไปใส่ข้าวเหนียวได้เลย

กระติบข้าวที่ทำเสร็จเรียบร้อย



วีดีโอประกอบการทำกระติบข้าว เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้น





วัสดุที่ใช้ในการทำกระติบข้าว


วัสดุที่ใช้ในการทำกระติบข้าว


1. ไม้ไผ่บ้าน 
 2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
 4. กรรไกร
5. มีดโต้
 
 6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
 
 8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก
 
 10. เครื่องกรอด้าย 

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องกระติบข้าว




ภูมิปัญญา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมซึ่งได้สั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา
          กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทางคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาเก็บความร้อนได้ดี   ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำต่างจากกระติกน้ำแข็ง ที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวเหนียวส้มตำบางร้านนำมาใช้บรรจุข้าวเหนียวเพื่อรอขายซึ่งจำเป็นต้องใช้ผ้าขาวรองอีกทีก่อนบรรจุข้าวเหนียว แต่เม็ดข้าวที่อยู่รอบขอบกระติกก็ยังแฉะอยู่ดี
เคล็ดลับของการสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อน อยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน  เพียงแต่มีขนาด ที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
ดังนั้นกระติบข้าวจึงเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับและยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงานและยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้เช่น ที่หมู่บ้านทุ่งนางโอก อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร

เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้กระติบข้าวเหนียว

1. ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ ไม่ติดมือ

2. พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง

ประวัติความเป็นมาของกระติบข้าว

กระติบข้าว
กระติบข้าว
                 กระติบข้าว
กระติบข้าว






ประวัติความเป็นมาของกระติบข้าว

     เนื่องจากภาคอีสานนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นข้าวหลักเพราะรับประทานง่ายไม่ต้องใช้ภาชนะสำหรับรับประทานมากมาย ใช้เพียงมือในการบริโภค แต่เดิมภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวชาวบ้านนำต้นไม้ต้นเล็กๆ มาเจาะลำต้นให้กลวงแล้วตัดเป็นท่อนขนาดสั้นๆเป็นกระบอก มีฝาปิด หรือบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นกระบอกสั้นๆนำมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว

      ต่อมาเห็นว่าไม้ไผ่ในพื้นที่มีมากมายแต่ถ้านำมาทั้งต้นแบบเดิมไม้ไผ่ก็คงจะหมดได้และทั้งรูปแบบเดิมก็เทอะทะ พกพาไม่สะดวกในการเดินทางไกลพอดีมีคนนำเอาไม้ไผ่มาผ่าซีกเล็ก ๆ มาเหลาเป็นแผ่นบางๆ นำมาจักสานเป็นตระกร้ากระบุง บรรจุข้าวสาร จึงได้พัฒนานำไม้ไผ่มาจักสานเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว ซึ่งเบาและระบายอากาศได้ดี ทำให้ข้าวยังมีความร้อนและข้าวไม่แฉะ พกพาก็ง่ายเพราะมีสายสะพาย มีหลายรูปแบบ รูปทรงกลม รูปทรงรี ขนาดเล็กรับประทานคนเดียวขนาดใหญ่รับประทาน 2-3 คน ขนาดใหญ่มากรับประทานทั้งครอบครัวภาคอีสานจะเรียกว่า กระติบข้าวแต่ทางภาคกลางจะเรียกว่า กระติ๊บข้าว"