Blog นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 305171 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา 2554 เสนอ อ.ภาณุพงศ์ สอนคม

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องกระติบข้าว




ภูมิปัญญา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมซึ่งได้สั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา
          กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทางคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาเก็บความร้อนได้ดี   ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำต่างจากกระติกน้ำแข็ง ที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวเหนียวส้มตำบางร้านนำมาใช้บรรจุข้าวเหนียวเพื่อรอขายซึ่งจำเป็นต้องใช้ผ้าขาวรองอีกทีก่อนบรรจุข้าวเหนียว แต่เม็ดข้าวที่อยู่รอบขอบกระติกก็ยังแฉะอยู่ดี
เคล็ดลับของการสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อน อยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน  เพียงแต่มีขนาด ที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
ดังนั้นกระติบข้าวจึงเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับและยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงานและยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้เช่น ที่หมู่บ้านทุ่งนางโอก อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร

เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้กระติบข้าวเหนียว

1. ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ ไม่ติดมือ

2. พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น